สวัสดีครับ Blog นี้ผมตั้งใจเขียนพร้อมวิดีโอประกอบที่จะอัพโหลดลงช่อง Youtube หลังจากที่ตัวเองมีความฝันอีกหนึ่งอย่างเมื่อนานมากแล้วกับการสร้าง workshop สำหรับทำงานไม้ งาน DIY งานออกแบบของตัวเองต่างๆ ซึ่งตอนนี้หลายๆอย่างเริ่มเป็นรูปร่าง เข้าที่เข้าทางมากแล้ว ถึงเวลาที่จะแบ่งปันไอเดีย ประสบการณ์จากการได้ลงมือทำ ลองผิดลองถูกให้กับผู้ที่สนใจครับ
พูดถึงโต๊ะทำงานงานไม้ แน่นอนว่าจะต้องเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ของคนที่เริ่มคิดอยากมี workshop เป็นของตัวเองครับ การทำงานของเราจะอยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ถนัดไม้ ถนัดมือปลอดภัยมากขึ้น ผมหาช้อมูลในโลกออนไลน์อยู่พักใหญ่จนมาติดตาและได้รู้จักกับโต๊ะทำงานอเนกประสงค์ของ Festool ครับ ต่างชาติเค้าเรียกกันว่า “MFT workbench” คำว่า MFT ย่อ Multi function tool นั่นเองครับ ซึ่งถ้าใครคุ้นเคยกับเครื่องมืองานไม้ก็น่าจะรู้จัก สรรพนามเจ้ายี่ห้อเครืองมือช่าง นามว่า Festool สัญชาติเยอรมัน นี้ดี เครื่องไม้เครื่องมือของเข้าแต่ละอย่างออกมาน่าใช้งานมาก ซึ่งราคาก็ถือว่าสูงกระโดดไปไกลกว่าชาวบ้านเค้า เรียกได้ว่า เป็นเครื่องมือช่างระดับ Hi end เลยก็ว่าได้ครับ ถ้าให้เทียบให้เห็นภาพก็น่าจะเป็น apple ในวงการเครื่องมือช่างก็ว่าได้ครับ วกกลับมาที่โต๊ทำงาน MFT3 ของ festool ที่ผมอยากได้กันครับ ราคาก็สูงอย่างที่เกริ่นไว้ ราคา 3 หมื่นกว่า บาท สามารถดูรีวิวเจ้าโต๊ะตัวนี้เพิ่มเติมได้ที่ link นี้เลยครับ https://www.youtube.com/watch?v=XeZzT_igT1M คุณกวางทำรีวิวไว้ดีมากๆ
เจ้าโต๊ะตัวนี้มีจุดเด่นยังไง จากในมุมมองผมนะครับ
ด้านบนคือตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Dog hole เบื้องต้นครับ ยังมี Accessory อีกมากมายที่ทำออกมาใช้งานกับโต๊ะทำงานไม้ลักษณะนี้
เป็นยังไงบ้างครับ กับเจ้าโต๊ะ MFT ของ festool ตัวนี้ น่าใช้งานใช่ไหมครับ ผมเองก็หลงรักจนถอนตัวไม่ขึ้นไปแล้ว แต่พอมาพิจารณาถึงงบประมาณในกระเป๋ากับความคาดหวังของเรากับผลงานที่เราจะทำออกมาเทียบกับราคาที่ลงทุนแล้ว ทำให้ผมต้องถอย แต่ไม่ถอดใจนะครับ ผมยังรู้สึกว่าโต๊ะอันนี้แหละคืออะไรที่ใช่ เหมือนเรารอคอยมานาน ฮ่าๆๆ ผมเริ่มมองหาทางเลือกอื่นๆที่พอจะลดทอนงบประมาณลงจากสามหมื่นกว่าบาท แต่ยังได้ฟังก์ชั่นที่ไม่น้อยหน้า festool MFT3 ครับ ดู youtube ไปเรื่อยๆ ก็ไปเห็นชาวต่างชาติเค้าทำโต๊ะ MFT โดยใช้ อลูมิเนียมโปรไฟล์ครับ ทันใดนั้นตาผมก็ลุกวาวและมองเห็นแสงสว่างอีกครั้งครับ ผมเริ่มลงมือเขียนแบบในโปรแกรมที่ถนัด แล้วคำนวน ขนาด อลูมิเนียมโปรไฟล์ ที่ต้องใช้ อ้างอิงจากขนาดการใช้งานและพื้นที่ workshop ผมครับ
นี่คือหน้าตาโต๊ะเปล่าที่ผมออกแบบไว้ครับ จะมีสองส่วนหลักๆคือ โครงอลูมิเนียมโปรไฟล์ กับ ท๊อปโต๊ะ เท่านั้นครับ ส่วนแรกเราจะมาพูดถึงการประกอบโครงอลูมิเนียมโปรไฟล์ กันก่อนครับ ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างใช้ ขนาดเท่าไหร่ ใช้อะไรประกอบยึดกันยังไงบ้าง
ในส่วนของ Aluminium profile ที่ใช้มี 2 ขนาดดังนี้ครับ
สำหรับขนาดของตัวโต๊ะ สามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานเลยนะครับ ให้สอดคล้องกับตัว Top ในส่วนของผม ขนาด top ผมอ้างอิงจาก Festool mft3 ที่มีขนาด top อยู่ที่ 1102mm × 718mm นั่นเอง
นอกจากตัวอลูมิเนียมโปรไฟล์แล้ว การต่ออลูมิเนียมโปรไฟล์เข้าด้วยกันนั้นมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ ในโปรเจคนี้ผมใช้การต่ออลูมิเนียมโปรไฟล์ตด้วยตัวต่อ สองลักษณะ ดังรายการข้างล้างนี้นะครับ
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งซื้อได้ที่ Link นี้ครับ ใช้งานทั้งหมด 16 ตัว ด้านละ 4 ตัวครับ
https://c.lazada.co.th/t/c.Y13OiX คลิกสั่งซื้อได้ตามลิ้งเลยครับ
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งซื้อได้ที่ Link นี้ครับ
https://c.lazada.co.th/t/c.Y1Tbd9 คลิกสั่งซื้อได้ตามลิ้งเลยครับ
ใช้ทั้งหมด 4 ตัวแนะนำให้ซื้อเป็น Kit set ได้เลยครับจะสะดวกกว่า มาพร้อมชุดโน๊ต M8 และ T nut
ในส่วนของ Top ผมใช้ ไม้อัด MDF ที่ความหนา 18 mm. จากที่หาข้อมูล ที่ความหนาระดับนี้เป็นความหนาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงานใช้งานฟังก์ชั่น Dog hole หรือรูกับการจับยึดแคลมป์ต่างๆ
ในส่วนของ Top นั้น ผมตัดสินใจเขียนไฟล์ แล้ว ส่งไฟล์ไปให้ร้าน CNC ตัดและเจาะรูให้ครับ ซึ่งถือว่าจบงานในส่วนตรงนี้ที่ผมหนักใจในช่วงแรกไปได้ สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถสอบถามมาทาง กล่องข้อความที่ เพจ https://www.facebook.com/yoongdesign ได้เลยครับ
เนื่องด้วยพื่นที่การทำงานของผมค่อนข้างแคบครับ การใช้โต๊ะทำงานที่ขยับเลือนไปมาเก็บเข้าที่ได้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โต๊ะทำงานผมจึงต้องติดล้อเพื่อคลื่นที่ได้ ส่วนล้อที่ผมเลือกผมใช้เป็นล้อ Heavy load ครับ เห็นผลที่เลือกใช้ล้อแบบนี้ อย่างแรกเลยครับ เพราะหน้าตาที่ดูหล่อ เท่ส์หมากครับ เป็น maker งานไม้ต่างประเทศหลายๆคนชอบใช้ครับ ซื่งนอกจากหน้าตาแล้ว มันยังมีข้อดีอีกอย่างคือ สามารถปรับระดับโต๊ะให้ได้ระนาบตั้งฉากได้ครับ ในกรณีที่พื้นของเราเทสโลปไว้ครับ ซึ่งก็ตอบโจทย์ตรงที่ของพื้นที่ของผมด้วยครับ
อุปกรณ์หลักๆ ทั้งหมด มีเท่านี้ครับ ก็สามารถประกอบโต๊ะสไตล์ MFT มาใช้งานได้แล้ว ทีนี้มาพูดถึงพระเอกของงานที่ขนาดไม่ได้สำหรับโต๊ะสไตล์นี้คือ MFT Clamp หรือ ปากกาจับชิ้นงานสำหรับโต๊ะ MFT กันครับ เบื้องต้นผมสั่งเจ้า MFT Clamp มาทดสอบครับ ราคาถือว่าใช้งานได้ดี เหมาะสมกับราคาและวัสดุมากครับ จริงๆ Clamp ลักษณะนี้มีทั้งของ Makita และ Festool นะครับ แต่ผมอยากประหยัดงบเลยของเลือกใช้งานตัวที่ถูกกว่า ถ้าท่านไหนสะดวกมีกำลังทรัพย์ก็จัดกันตามสบายเลยครับ
สนใจสินค้า MFT CLAMP คลิกที่ ลิงค์ LAZADA ได้เลยครับ
https://c.lazada.co.th/t/c.Y13iTT MFT CLAMP
https://c.lazada.co.th/t/c.Y13RdA ล้อ heavy load
สำหรับถ่านที่อ่านมาถึงจุดนี้ ทั้งหมดก็เป็นข้อมูลจากประสบการณ์การลงมือทำโต๊ะสไตล์ MFT ซึ่งช่วยให้ผมประหยัดเงินไปถึง 2 ใน 3 สามารถสอบถามข้อสงสัยหรือชมวิดีโอคลิปเพิ่มเติมได้ที youtube chanel
ด้านล่างจะเป็นรูปเพิ่มเติมครับ
สำหรับ Blog ถัดไป ผมจะมาแชร์ประสบการณ์การทำ บานพับสำหรับติดราง track saw กันครับ ฝากกดติดตามเพจ และ ช่อง youtube ผมอีกครั้ง จะได้ไม่ได้พลาดทุกการอัพเดตของผมนะครับ